เกี่ยวกับ
กรมพัฒนาที่ดิน (Land Development Department)
ประวัติกรมพัฒนาที่ดิน
23 พฤษภาคม 2506ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้พระราชบัญญัติ 3 ฉบับให้มีการจัดตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติขึ้นโดยรวมงานของกระทรวงสหกรณ์ที่มีอยู่เดิมเข้าไว้กับกรมอื่นอีก รวมทั้งหมด 13 กรม ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินเป็นกรมหนึ่งได้รับการจัดตั้งครั้งนี้ด้วย
29 กันยายน 2515คณะปฏิวัติอันมี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้า ได้ยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และแบ่งส่วนราชการใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 276 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษเล่มที่ 89 ตอนที่ 145 ให้กรมพัฒนาที่ดินกรมชลประทานกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ย้ายมาสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
6 ตุลาคม 2526ได้มีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 160 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2526ให้พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2526 มีผลบังคับใช้ ซึ่งได้กำหนดอำนาจ และหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินในมาตรา 10 และมาตรา 14
5 เมษายน 2527ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แบ่งท้องที่ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกเป็นเขต
10 เมษายน 2527ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2527 ให้มี 9 กอง 13 สำนักงาน
7 พฤศจิกายน 2537ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พ.ศ. 2537 โดยมีการปรับปรุงกองและเปลี่ยนชื่อกองใหม่ แต่ยังคงมีหน่วยงานทั้งสิ้น 9 กอง 13 สำนักงาน
9 ตุลาคม 2545ได้มีการออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน
6 มกราคม 2555ได้มีการออกกฎกระทรางแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2554 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555.
วิสัยทัศน์พัฒนาที่ดินให้สมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิต ในทิศทางการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม
พันธกิจสนับสนุนโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ วิจัยพัฒนา ให้บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาที่ดิน พร้อมทั้งกำหนดเขตการใช้ที่ดินที่เหมาะสมเพื่อการผลิตและให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านต่าง ๆ ที่ถูกต้อง ทันสมัย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาที่ดินและน้ำ โดยการอนุรักษ์ดินและน้ำการฟื้นฟูปรับปรุงดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ยั่งยืน ภายใต้กระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วม พัฒนาหมอดินอาสา ยุวเกษตร เกษตรกร และกลุ่มเกษตร ให้มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาที่ดินเพื่อเป็นรากฐานการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงและปฎิบัติตาม พ.ร.บ.พัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551
เป้าประสงค์หลัก
- จัดทำแผนการใช้ที่ดินเพื่อการวางแผนพัฒนาในพื้นที่
- ส่งเสริมเกษตรกรทำการผลิตตามความเหมาะสมของดิน
- พื้นที่เกษตรได้รับการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
- พื้นที่เกษตรกรรมได้รับการฟื้นฟูและปรับปรุงดิน
- พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมการพัฒนาที่ดิน
- เกษตรกรนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินไปใช้ประโยชน์
- สร้างและพัฒนาต่อยอดภาคีเครือข่ายพัฒนาที่ดินให้เข้มแข็ง และยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การขับเคลื่อนแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การอนุรักษ์ดินและน้ำ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การวิจัยและถ่ายถอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ดิน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างพัฒนาภาคีเครือข่ายพัฒนาที่ดิน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การพัฒนาองค์กร